ชื่อไทย : แก้ว
ชื่อท้องถิ่น : แก้วขาว(กลาง)/ แก้วขี้ไก่(ยะลา)/ แก้วพริก, ตะไหลแก้ว(เหนือ)/ แก้วลาย(สระบุรี)/ จ๊าพริก(ลำปาง) 
ชื่อสามัญ : Andaman satinwood/ Chinese box tree/ Orange jasmine
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Murraya paniculata (L.) Jack.
ชื่อวงศ์ : RUTACEAE
ลักษณะวิสัย : ไม้พุ่ม
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
ลำต้น :
ไม้พุ่ม ไม่ผลัดใบเรือนยอดเป็นพุ่มกลมทึบสีเขียวเข้ม เปลือกสีเทาปนขาว แตกเป็นร่อง ขยี้ใบดมมีกลิ่นฉุนเผ็ดร้อน
ใบ :
ประกอบแบบขนนก ปลายคี่ เรียงสลับ ใบย่อยเรียงสลับ มี 5-9 ใบ ใบรูปรี รูปไข่หรือรูปไข่กลับ กว้าง 1-3 ซม. ยาว 2-7 ซม. ปลายใบเรียวแหลม โคนใบสอบ ใบเกลี้ยง ผิวใบสีเขียวเข้มเป็นมัน แผ่นใบคล้ายแผ่นหนังบาง ใบมีต่อมน้ำมัน ขอบใบเป็นคลื่นหรือหยักมนตื้น เส้นแขนงใบข้างละ 4-8 เส้น ก้านใบย่อยยาว 2-4 มม. เมื่อขยี้จะมีกลิ่นฉุน
ดอก :
ช่อดอกสั้น ออกเป็นช่อแบบช่อกระจะสั้นๆตามซอกใบ สีขาว กลีบเลี้ยง 5 กลีบเล็กมาก กลีบดอก 5 กลีบ ร่วงง่าย ดอกบานเต็มที่กว้าง 2-2.5 ซม. มีกลิ่นหอม ส่งกลิ่นหอมแรงช่วงพลบค่ำถึงเช้ามืด
ผล :
สดแบบผลส้ม รูปรีหรือไข่กว้าง 5-8 มม. ยาว 1 ซม. ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สีแดงอมส้ม ต่อมน้ำมันเห็นได้ชัด เมล็ด รูปรี มีขนหนาและเหนียวหุ้มรอบเมล็ด
ระยะติดดอก - ผล : ติดดอกตลอดทั้งปี
ติดผลตลอดทั้งปี
สภาพทางนิเวศวิทยา : นิเวศวิทยาป่าดิบทั่วไป บางครั้งพบบนเขาหินปูน การกระจายพันธุ์จีน , ญี่ปุ่น, เกาหลี, อินเดีย และภูมิภาคอินโดจีน
การปลูกและการขยายพันธุ์ :

ดินร่วนซุย ดินร่วนปนทราย แสงแดดจัด

เพาะเมล็ด , ตอนกิ่ง

รายละเอียดการใช้ประโยชน์ :

- รากสดมีรสเผ็ดสุขุม ต้มกับน้ำกินแก้แผลฟกช้ำ ใช้เป็นยาพอกตรงที่เป็นแผล รากแห้งหั่นเป็นฝอยตุ๋นกับหางหมูเจือสุรากินแก้ปวดเมื่อยเอว

- รากและต้นแห้งหั่นต้มเคี่ยวแล้วกรองน้ำมาใช้ช่วยเร่งการคลอดบุตร โดยใช้ผ้าพันแผลจุ่มน้ำยาสอดเข้าไปที่ปากมดลูก

- ก้านและใบสด  มีรสเผ็ดร้อนขม บดแช่แอลกอฮอล์ 24 ชั่วโมง ใช้ทาหรือเป็นยาฉีดเป็นยาระงับปวด ต้มอมบ้วนปากแก้ปวดฟัน ก้านใช้ทำความสะอาดฟัน

- กิ่งและใบ   ใช้รักษาโรคเอดส์ [1]

- ใบเป็นยาแก้จุกเสียด บำรุงโลหิต รากแก้ผื่นคันที่เกิดจากความชื้น แก้พิษแมลงต่อย ปรุงเป็นยาขับระดู - ไม้ทำซอด้วง ซออู้ [2]

- การใช้งานด้านภูมิทัศน์ปลูกประดับในสวนเพื่อให้ร่มเงาในบ้านขนาดเล็ก มีดอกหอม ตัดแต่งทรงพุ่มให้เตี้ยได้

แหล่งอ้างอิง : [1] คณะกรรมการวิชาการดำเนินงานส่วนสวนสมุนไพรพืชสวนโลก. 2549. สวนสมุนไพรในงานมหกรรมพืชสวนโลก 2549. Herbal Garden in Royal Flora Expo 2006. บริษัท สามเจริญพาณิชย์(กรุงเทพฯ) จำกัด. กรุงเทพมหานคร. [2] เอื้อมพร วีสมหมาย และปณิธาน แก้วดวงเทียน. 2552. ไม้ป่ายืนต้นของไทย 1. พิมพ์ครั้งที่ 2. เอช เอ็น กรุ๊ป จำกัด. กรุงเทพมหานคร. [3] ต้นไม้และดอกไม้ประจำจังหวัด http://www.panmai.com/ 23082553
ประเภทของการใช้ประโยชน์ :
พืชสมุนไพร
ที่อยู่ :
หมายเหตุ : ดอกไม้ประจำจังหวัดสระแก้ว
รูปพรรณไม้ :
   
Copyright © 2011 Royalpark Rajapruek All rights reserved.
ต.แม่เหียะ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50100
โทร 053-114110-5 แฟกซ์ 053-114196 E-Mail : [email protected]
เริ่มใช้งานระบบเมื่อ 1 มิถุนายน 2554